GenodeGenodeGenodeGenode
  • Prenatal Test
    • ข้อมูลสำหรับพ่อแม่
    • THAI NIPT
    • โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม
    • บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
  • แอปพลิเคชั่น
  • ข้อมูลสำหรับแพทย์
    • Prenatal Test
  • เข้าสู่ระบบ
    • สำหรับแพทย์
    • สำหรับผู้รับบริการ
  • ติดต่อเรา

NIPT หรือ Non-Invasive Prenatal Testing เป็นการตรวจวิเคราะห์ หาสารพันธุกรรม (DNA) ของรกและทารก (Cell-free fetal DNA) ในเลือดของแม่ เพื่อคัดกรองการเพิ่มขึ้น หรือขาดหายไปของโครโมโซมทารก โดยเฉพาะโครโมโซมคู่ที่ 21 18 13 และโครโมโซมเพศ ซึ่งเป็นความผิดปกติ ที่พบบ่อย โดยตรวจได้ตั้งแต่ 10 สัปดาห์ขึ้นไป

ด้วยความร่วมมือจาก

ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
ห้องปฏิบัติการมนุษย์พันธุศาสตร์ ภาควิชาพยาธิวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี

ความเสี่ยงและอายุที่เหมาะแก่การตรวจ

  • ตั้งครรภ์เมื่อมีอายุมากกว่า หรือเท่ากับ 35 ปี
  • ตรวจอัลตราซาวด์แล้วพบความผิดปกติของทารก
  • มีผลการตรวจเซรั่มเป็นบวกหรือมีความเสี่ยงสูง
  • มีสภาวะเสี่ยงที่ไม่แนะนําให้ทําการตรวจน้ำคร่ำ เช่น มีภาวะแท้งบุตรง่าย ภาวะรกเกาะต่ำ หรือมารดาติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี
  • มีประวัติการตั้งครรภ์ทารกที่มีความผิดปกติของโครมโซม
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ทุกวัยที่สนใจตรวจทารกในครรภ์

เปรียบเทียบการตรวจทารกก่อนคลอดแบบคัดกรอง (Screening Test)

การตรวจจากเลือดของแม่ (NIPT)

ความเสี่ยงต่อการแท้ง
0%
ความเสี่ยงต่อการแท้ง: 0%
ความแม่นยำ
99%
ความแม่นยำ: 99%

สามารถตรวจได้ โดยมีอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป

ตรวจอัลตราซาวด์ วัดความหนาของน้ำบริเวณต้นคอ

(Ultrasound)

ความเสี่ยงต่อการแท้ง
0%
ความเสี่ยงต่อการแท้ง: 0%
ความแม่นยำ
80%
ความแม่นยำ: 80%

สามารถตรวจได้ โดยมีอายุครรภ์ 11 สัปดาห์ขึ้นไป

การตรวจสารชีวเคมีในเลือดแม่

Serum Screening (First trimester maternal serum screening)

ความเสี่ยงต่อการแท้ง
0%
ความเสี่ยงต่อการแท้ง: 0%
ความแม่นยำ
82%
ความแม่นยำ: 82%

สามารถตรวจได้ โดยมีอายุครรภ์ 11-14 สัปดาห์ขึ้นไป

*แหล่งข้อมูลอ้างอิง : Clinical management guidelines for obstetrician-gynecologists, Screening for Fetal Aneuploidy, Practice bulletin, Number 163. May 2016

Tharangrat Hanprasertpong, หัตถการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด, Songkla Med J Vol. 28 No. 6, Nov-Dec 2010

ครอบคลุมการตรวจโครโมโซม

นอกจากนี้ Thai NIPT ยังสามารถตรวจพบการเพิ่ม/ลดของโครโมโซมเพศของทารกในครรภ์อีกด้วย
ที่มา : Gil et al (2015) DOI: 10.1002/uog.14791
Clinical Performance, Premaitha. https://goo.gl/6Z9i3T. Accessed December 2017

เข้าถึงการตรวจ NIPT กับ Genode

GENODE เป็นตัวกลางในการตรวจทางพันธุกรรมที่จะช่วยให้แพทย์และคนไข้จากทั่วทุกที่ได้เข้าถึงการตรวจ NIPT ได้อย่างง่ายดายและปลอดภัย เพื่อให้ทุกคนรู้ข้อมูลทางพันธุกรรมของตนเอง เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจทางสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น โดยมีสองตัวเลือกในการตัดสินใจ

ที่มา : ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ | Center for Medical Genomics, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital

เข้าถึงการตรวจ ThaiNIPT

ภายใต้โครงการความร่วมมือของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ศูนย์จีโนม ทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดีวิจัยคิดค้นพัฒนาการตรวจความผิดปกติ ของทารกจากเลือดของแม่ที่ตั้งครรภ์ และได้เปิดให้บริการมาตั้งแต่ต้นปี 2558 เพื่อให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ได้มีโอกาสตรวจหาความผิดปกติของทารก

ข้อมูลจาก : ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ | Center for Medical Genomics, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital

เลือกใช้ NIPT ในการตรวจสำหรับคนไข้ของคุณ
ร่วมตรวจ NIPT กับ Genode

1. ทำการนัดหมายคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อทำการตรวจเลือดในสัปดาห์ที่ 10 เป็นต้นไป

*กรณีที่แพทย์ยังไม่มีอุปกรณ์ ติดต่อ Genode เพื่อเข้าร่วม
โครงการ Genode จะทำการส่งอุปกรณ์ไปให้

2. เจ้าหน้าที่ประจำสถานพยาบาลรวบรวมเอกสารและข้อมูลจำเป็นเพื่อใช้ในการลงทะเบียน

3. ผู้ป่วยเข้ารับการเก็บตัวอย่างเลือดจากสถานพยาบาล

4. เจ้าหน้าที่บรรจุตัวอย่างเลือดในบรรจุภัณฑ์ พร้อมเอกสาร

5. ติดต่อศูนย์ประสานงาน เพื่อส่งตัวอย่างเลือดไปยังห้องปฏิบัติการ

6. ได้รับผลการตรวจผ่านเว็บไซต์สำหรับแพทย์

7. นัดผู้ป่วยเพื่อให้คำแนะนำ และให้ข้อมูลเพิ่มเติม

การรายงานผลการตรวจ

การตรวจหาความผิดปกติของทารกก่อนคลอดจากเลือดของแม่ (NIPT) เป็นการตรวจคัดกรองเพื่อทราบความเสี่ยงของความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ จะมีผลคือ

ความเสี่ยงต่ำ

หมายถึง มีความเป็นไปได้ต่ำ (<1/10,000) ที่ทารกจะมีความผิดปกติของโครโมโซม

ต้องสงสัย

หมายถึง ต้องสงสัยว่าทารกจะได้รับผลกระทบจากความผิดปกติของโครโมโซม

ความเสี่ยงสูง

หมายถึง มีความเป็นไปได้สูง (>90) ที่ทารกจะมีความผิดปกติของโครโมโซม

ไม่สามารถประเมินผลได้

หมายถึง ไม่สามารถประเมินความเสี่ยงของทารกจากสิ่งส่งตรวจนี้ได้ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากปริมาณชิ้นส่วนดีเอ็นเอของทารกมีน้อยเกินไป หรือมีสิ่งรบกวนการตรวจอื่นๆ

ตรวจพบ หรือ ตรวจไม่พบ

ใช้ในการตรวจโครโมโซม Y หากตรวจพบจะสัมพันธ์กับทารกเพศชาย หากตรวจไม่พบจะสัมพันธ์กับทารกเพศหญิง

คำเตือนและข้อจำกัดของการตรวจ NIPT

1. การตรวจ NIPT เป็นเพียงการคัดกรองเท่านั้น ไม่ใช่การตรวจเพื่อวินิจฉัย
2. สิ่งที่รบกวนผลการตรวจ NIPT ที่อาจให้ผลผิดพลาดหรือไม่สามารถตรวจได้มีดังต่อไปนี้

• ผู้หญิงตั้งครรภ์ได้รับเลือดไม่เกิน 3 เดือนนับจากวันที่ตรวจหรือมีการปลูกถ่ายอวัยวะ
• ผู้หญิงตั้งครรภ์มีน้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัม
• ผู้หญิงตั้งครรภ์มีเซลล์มะเร็งอยู่ในร่างกาย (Malignancy)
• ผู้หญิงตั้งครรภ์มีการขาดหายไปของโครโมโซมตั้งแต่กำเนิด
• ในครรภ์มีสภาวะ Mosaicism (DNA ของรกและทารกไม่เหมือนกัน)
• อายุครรภ์น้อยกว่า 10 สัปดาห์

3. ผลที่เป็นความเสี่ยงต่ำไม่ได้แปลว่าทารกจะไม่มีความผิดปกติใดๆ ยังคงต้อง Ultrasound ตามปกติ
4. ผลที่เป็นความเสี่ยงสูงไม่ได้แปลว่าทารกจะผิดปกติ จําเป็นต้องยืนยันผลด้วยการเจาะน้ำคร่ำ
5. ในการตรวจด้วย Thai NIPT กรณีที่ DNA ของส่วนของทารก (Fetal fraction) ไม่พอ (มีน้อยกว่า 4%) สามารถเก็บตัวอย่างเลือดได้ใหม่ และส่งตรวจซ้ำโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

6. จําเป็นต้องมีการให้คําปรึกษาทางพันธุศาสตร์ (Genetic Counseling) เพื่อให้ทราบถึงทางเลือกต่างๆ สําหรับผู้หญิงตังครรภ์ทั้งก่อนและหลังการตรวจ

ติดต่อ GENODE เพื่อเข้าร่วมการตรวจ
Tel : 02 026 3133 Email : [email protected]

ติดต่อเรา

SYNERGY INSIGHT CO.,LTD.

Y-E-S-C Building 36/2, Moo2, Sukhapiban 5 Road,
Tha-Raeng, Bang-Khen, Bangkok Thailand. 10220
[email protected]
Tel 02 026 3133
Fax 02 949 8786
  • คำถามที่พบบ่อย
  • ข้อตกลงในการใช้งาน
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
download-android download-android
COPYRIGHT © 2017 GENODE CO., LTD. ALL RIGHTS RESERVED.
  • Prenatal Test
    • ข้อมูลสำหรับพ่อแม่
    • THAI NIPT
    • โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม
    • บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
  • แอปพลิเคชั่น
  • ข้อมูลสำหรับแพทย์
    • Prenatal Test
  • เข้าสู่ระบบ
    • สำหรับแพทย์
    • สำหรับผู้รับบริการ
  • ติดต่อเรา
Genode